Bacteria in kitchen towel ผ้าเช็ดในครัวแหล่งรวมของเชื้อโรค

in #health4 years ago
คุณเคยหรือไม่ที่เวลาไปซื้ออาหารตามสั่งหรือร้านก๋วยเตี๋ยวแล้วเห็นคนเตรียมอาหาร หยิบผ้ามาเช็ดเขียงสลับกลับไปเช็ดพื้นบริเวณรอบๆ บอกเลยว่าพูดไม่ออก หรือถ้าใครเคยไปร้านส้มตำ ไก่ย่าง ลาบน้ำตก ก็จะสังเกตเห็นการนำเอาผ้าเช็ดมือหรือผ้าขี้ริ้ว มาเช็ดทุกสิ่งปะปนกันไปหมด

Source: Photo via Global House


สำหรับผ้าเช็ดครัวเป็นสิ่งสำคัญสำหรับคนทำอาหารไม่ว่าจะเป็นเชฟหรือคนปรุงอาหารแบบทานเอง เนื่องจากขณะทำอาหารมักเกิดความสกปรกเลอะเทอะได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็นเศษน้ำ อาหาร เครื่องปรุงและอื่นๆ บางครั้งอาจจะนำไปเช็ดมืออีกด้วย แน่นอนว่า ผ้าเช็ดครัวเป็นสิ่งสกปรกอีกชิ้นหนึ่งของห้องครัวหรือบริเวณเตรียมอาหารและอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพ เพราะว่าโดยส่วนใหญ่ผ้าเช็ดในห้องครัวไม่ได้ถูกทำความสะอาดอยู่บ่อยๆ และมีโอกาสเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรค ซึ่งเป็นอันตรายและเป็นแหล่งก่อเชื้อโรคอื่นๆ อีกด้วย สำหรับวิธีที่จะหลีกเลี่ยงไม่ให้ผ้าเช็ดในห้องครัวเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรคมีดังนี้


1) ทำให้แห้ง เนื่องจากแบคทีเรียชอบความชื้นจึงเป็นที่เจริญเติบโตของเชื้อโรคได้อย่างดี โดยระหว่างการใช้งานควรมีการตากหรือผึ่งให้แห้ง และเลือกชนิดของผ้าที่ทำจากไนลอนหรือโพลีเอสเตอร์จะสามารถแห้งได้เร็วกว่าเนื้อผ้าชนิดอื่น

2) ควรเปลี่ยนผ้าเช็ดครัวบ่อยๆ ถ้ามีการใช้ห้องครัวร่วมกับผู้อื่น เพราะหมายความว่ามีจำนวนผู้ใช้ห้องครัวจำนวนมากเท่าไหร่ยิ่งมีแนวโน้มที่จะกระจายเชื้อได้ง่าย

3) แยกประเภทของผ้าเช็ดในครัวตามประเภทของการใช้งานเช่น สำหรับ เช็ดแก้ว เช็ดจาน เช็ดมือ เช็ดพื้นผิวและวัสดุอื่นๆ ไม่ใช้ผ้าชิ้นเดียวในสารพัดประโยชน์

4) เมื่อใช้งานผ้าเช็ดครัวในทุกครั้ง ควรมีการทำความสะอาดและผึ่งให้แห้งก่อนมีการนำมาใช้ใหม่ในครั้งต่อไป


บอกได้เลยว่าผ้าเช็ดในครัว หรือผ้าขี้ริ้ว นี่แหละเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรคที่สำคัญ เสี่ยงในกระจายเชื้อโรคไปยังส่วนต่างๆ บางครั้งอันตรายเหล่านี้อาจจะไม่ทำให้เสียชีวิตในทันที แต่จะเกิดการสะสมในร่างกายและทำให้เกิดโรคร้ายอื่นๆ ตามมา

Steem: www.steemit.com/@andyjim


Sort:  

A new study suggests that your dish towels are teeming with bacteria that can potentially cause food poisoning and other foodborne illnesses.

Researchers from the University of Mauritius cultured 100 multiuse kitchen towels after one month of use, without washing. They found that nearly half tested positive for bacterial growth — most of which originated from human intestines.