รู้แล้วว่าจะเขียนอะไรดี...แต่จะเขียนอย่างไรดีล่ะ? What to write might not matter than how to write!

in #thai7 years ago


สวัสดีค่ะ เพื่อนๆ Steemit

อยากบอกว่าตื่นเต้นที่เห็นว่าช่วงนี้มีคนไทยหน้าใหม่ๆ เข้ามาใช้ Steemit มากขึ้น
เลยเขียนบล็อกนี้ขึ้นมาก่อนจะมีบางคนถอดใจไปก่อน
เพราะบางคนเข้ามาด้วยความตื่นเต้นว่าอยากหารายได้เสริม
แต่พอเข้ามาเขียนแล้วก็อึ้งๆ ทำไมไม่มีคนโหวตให้เท่าไรเลย
บางคนยังคิดว่าจะเขียนอะไรดีล่ะ
ในเมื่อที่ผ่านมาไม่เคยเขียนอะไรเป็นเรื่องเป็นราว

วันนี้เลยอยากจะแชร์วิธีง่ายๆ ที่ตัวเองใช้เอาไว้ตรงนี้
เผื่อจะช่วยเพื่อนใหม่ๆ ที่เข้ามาใน Steemit ได้ไม่มากก็น้อยค่ะ

Hi Steemians

I'm so excited to see new faces from Thailand joining Steemit.
Therefore I'm writing this blog with a hope to help inspire some newbies
before they were discouraged and left the platform.
Some are here with to earn some extra money but as a newbie,
it's quite hard to shine and earn.
So I want to share my tips and trick and hope
it may help Thai newbies.

(It's easier for me to cite the wording example in Thai, sorry about that!)

Screen Shot 2561-03-05 at 6.12.35 PM.png

Image Source

เขียนในสิ่งที่รักและถนัด (Write what you love)

เป็นสิ่งที่ง่ายที่สุดค่ะ ชอบอะไรเขียนสิ่งนั้น เพราะเราจะมีความกระตือรือร้นที่จะเขียน
และเราจะสามารถสอดแทรกความรู้ ความคิดเห็นเข้าไปได้อย่างไม่ขัดเขิน
เพราะนั่นคือสิ่งที่เรารู้จริง

เขียนสิ่งในสิ่งที่กระทบความรู้สึก (Write what touches you)

เจออะไรที่เข้ามากระทบความรู้สึก เช่นเจอข่าวที่กระทบความรู้สึก
แล้วเอาใจความสำคัญมาขยาย เพิ่มเติม
ผนวกกับจุดยืนหรือความคิดเห็นของตัวเองเข้าไป

เขียนสิ่งที่พบเห็นในชีวิตประจำวัน (Write what you come across in daily life)

เช่น งานที่ทำ เพื่อนข้างบ้าน แหล่งท่องเที่ยวที่ไปเที่ยวมา อาหารที่ไปชิม บรรยายเพิ่มเติมตามที่เห็นสมควร

เขียนสิ่งที่เป็นเรื่องเฉพาะทาง (Write something nitch and specific)

ซึ่งการเขียนบล็อกประเภทนี้ ถ้าเราไม่ได้มีความรู้จริง
ก็ควรหาข้อมูลเพิ่มเติมและมั่นใจว่าข้อมูลที่ให้กับผู้อื่น
เป็นข้อมูลที่ถูกต้องและน่าเชื่อถือ และเขียนที่มาของข้อมูลอ้างอิงไว้ก็ได้ค่ะ

ที่นี้จะเป็นยังไงในเมื่อ Steemit มีนักเขียนเยอะแยะไปหมด
ทุกคนเขียนสิ่งที่ตัวเองรักและถนัดซึ่งแน่นอนว่าต้องมีซ้ำกันบ้าง
นึกภาพตามนะคะ

ถ้า Steemit เป็นร้านหนังสือ
แต่ละคนผลิตหนังสือของตัวเองทุกวัน
จะทำให้มีหนังสือวางบนแผงประมาณเจ็ดแสนเล่ม

Screen Shot 2561-03-05 at 6.13.16 PM.png

Image Source

เราชาวไทยอยากอ่านหนังสือไทย
ก็ต้องเดินไปตามแผนกของหนังสือที่เราอยากอ่านก่อน
แผนกของหนังสือนี้ก็เปรียบเทียบได้กับการที่เราใช้ tag ของบล็อกเรานั่นเอง
ใส่ tag ให้ถูกต้องกับเนื้อหาที่เราต้องการจะนำเสนอ
แต่สำหรับชุมชนไทย แนะนำให้ใส่ tag #thai เป็นอันแรกค่ะ
คนไทยด้วยกันจะได้ตามอ่านกันได้ง่ายๆ
อีก 4 tag ที่เหลือก็เลือกตามความเหมาะสมกับเนื้อหา

ที่นี้ไปที่แผนกหนังสือไทยแล้ว
โอ้โห! ก็ยังมีหนังสือละลานตามาก
อาจจะมีหนังสือท่องเที่ยวเต็มไปหมด
หนังสือสูตรอาหารก็ไม่น้อย
หนังสือสอนเคล็ดวิชาสตีม ก็เยอะ
แล้วคนอ่านจะเลือกอ่านหนังสือเล่มไหน
วัดกันแว่บแรกตรงนี้ค่ะ

Title หรือหัวข้อของบล็อก...ก็เปรียบเสมือนพาดหัวหรือคำโปรยบนปกหนังสือ

ภาพประกอบภาพแรกของบล็อก...ก็เปรียบเสมือนภาพหน้าปกหนังสือ

ถ้าหัวข้อไม่ดึงดูดไม่น่าสนใจ...
ก็ยากที่จะดึงคนให้เข้ามาข้อความต่อ
แต่จะรู้ได้ยังไงล่ะว่าน่าสนใจแล้ว?
ไม่ยากค่ะ
ลองถามตัวเองว่าเราเจอหัวข้อแบบนี้...
เราจะคลิกมั้ย? ซื่อสัตย์กับตัวเองนิดนึงนะคะ
ถ้าเรายังไม่คลิก ก็ลองปรับประโยคหัวข้อเรื่องให้ดูน่าสนใจขึ้น
ลองเอาวิธีง่ายๆ ที่ตัวเองใช้บ่อย ไปประยุกต์ใช้ดูนะคะ

Some tricks that I always used!

1. ตั้งคำถามกับผู้อ่าน (Ask a question)

สมมุติว่าคุณไปเที่ยวตลาดน้ำและอยากเขียนบล็อกเกี่ยวกับเรื่องนี้
แทนที่คุณจะเขียนเรียบๆ แค่ว่า “พาเที่ยวตลาดน้ำอัมพวา”
แต่คุณอาจเขียนว่า

“อยากรู้มั้ยอัมพวามีของดีอะไรซ่อนอยู่?” การเขียนหัวข้อด้วยคำถาม
จะช่วยกระตุ้นความอยากรู้ได้ค่ะ

2. เขียนให้เห็นคุณประโยชน์ (Show the benefit)

ประโยชน์ในที่นี้ก็คือประโยชน์ที่ผู้อ่านจะได้รับจากการอ่านโพสต์
เช่น

“วันหยุดนี้...ถ้ายังนึกไม่ออกว่าจะไปไหนบล็อกนี้มีไอเดียให้”

3. เขียนโดยใช้คำที่จดจำง่ายหรือคำคล้องจอง (Use catchy word or rhyme)

วิธีนี้จะเพิ่มความสนุกหรือน่าสนใจให้หัวข้อได้เช่นกันค่ะ
เช่น

“ไปเที่ยวอัมพวาดีกว่านอนผวาอยู่บ้านคนเดียว!”

4. เขียนโดยการชูจุดเด่นของเนื้อหาในบล็อก (Showcase the key features)

สมมุติว่าการไปอัมพวาของคุณครั้งนี้คุณได้เจอร้านค้า ร้านอาหารมากมาย
และคุณอยากเล่าถึงร้านเหล่านี้ ก็เขียนไปเลยค่ะเช่น

“ลั้นลากับ 5 ร้านอาหารยอดฮิตในอัมพวา”

5. เขียนแบบยั่วให้คนมโนแล้วอยากอ่านต่อ (Intrigue to create some imagination)

ถ้าคุณคิดว่าคุณมีเนื้อหาที่น่าสนใจไม่เหมือนใครแน่ๆ ยกตัวอย่างเช่นคุณได้ไปเล่นเจ็ตสกีในคลองอัมพวา
คุณก็อาจจะใช้วิธีนี้ได้เลยค่ะ เช่น

“สิ่งที่ไม่เคยคิดว่าชาตินี้จะได้ทำที่อัมพวา”

6. เขียนแบบเปลี่ยนมุมมองการเล่า (Change the perstective of story-teller)

แทนที่จะเป็นการเล่าผ่านมุมมองของตัวเองเหมือนเดิมๆ ทุกครั้ง
แต่ในวิธีนี้เพื่อนๆ อาจเขียนเนื้อหาผ่านการสัมภาษณ์พ่อค้า แม่ค้า
หรือว่าแต่งเป็นเรื่องราวสนุกๆ ผ่านมุมมองพ่อค้า แม่ค้า ขึ้นมาเลย
ยกตัวอย่างเช่น

“คนอัมพวามีบางอย่าง...อยากฝากบอกคนกรุงเทพฯ”

ที่จริงมันมีอีกหลายเทคนิคมากๆ ค่ะ และก็ไม่ได้เป็นกฎตายตัว
เพื่อนๆ อาจใช้หลายๆ เทคนิคผสมกันก็ได้
ซึ่งการเขียนหัวข้อเรื่อง ผสานกับข้อมูลดิบที่เรามี
จะเป็นแนวทางหรือเป็นธงที่เราตั้งไว้ในใจในการเขียนเนื้อหาในบล็อกให้สอดคล้องกันด้วยค่ะ
แต่ควรระมัดระวังอย่าเขียนแบบ clickbait คือหลอกให้คลิก เข้าไป
แต่เนื้อหาไม่มีอะไรอย่างที่ล่อหลอกเอาไว้นะคะ เว้นแต่เป็นการหักมุมที่สนุกมีมุขตลกอันนั้นอาจจะโอเค

ทีนี้มาถึงอีกองค์ประกอบที่สำคัญไม่แพ้กันคือ ภาพหน้าปกหนังสือ

หลายครั้งที่ ซื้อนิตยสารเพราะปกสวยค่ะ มันทำให้เราอยากซื้อมาดูว่าภาพข้างในมีอะไรอีก

Screen Shot 2561-03-05 at 6.13.01 PM.png

Image Source

สำหรับ Steemit ปกหนังสือ ก็คือภาพแรกที่คุณใส่ไว้ในบล็อก
คัดเลือกภาพที่สอดคล้องกับหัวข้อมากที่สุด ไว้เป็นภาพแรกค่ะ
เพราะเวลาที่ผู้อ่านเห็นบล็อกจะได้จินตนาการได้คร่าวๆ
ว่าถ้ากดเข้ามาดูแล้วเค้าจะได้เจอกับภาพและเนื้อหาประมาณไหน
ถ้าเป็นไปได้จะใส่คำสำคัญๆ ของใจความที่เราจะเล่าไว้ด้วยก็ได้ค่ะ
เคยเจอที่หัวข้อไปทาง และภาพประกอบไปอีกทาง อ่านแล้วมันก็เลยงงๆ นิดหน่อยค่ะ

หัวข้อ ภาพประกอบ ว่าสำคัญแล้ว แต่สิ่งสำคัญที่สุดคือ เนื้อหาข้างในนะคะ
อย่างที่ทราบกันดีว่าไม่ควรไปคัดลอกของคนอื่นมา เพราะเห็นโดนบอทจับได้กันบ่อยๆ นะคะ
สร้างบล็อกด้วยน้ำพักน้ำแรงของตัวเอง เวลามีใครมาชื่นชม มันน่าชื่นใจมากกว่าค่ะ

เพื่อนๆ คนใหม่ๆ ลองเอาแนวทางไปปรับใช้กันดูนะคะ
ลองศึกษาแนวทางของคนเก่งๆในนี้มีมากมายนะคะ แต่ละคนก็มีสไตล์การเล่าเรื่องของตัวเอง
การเขียนบ่อยๆ จะทำให้คุณเจอสไตล์การเขียนของตัวเองค่ะ

all the best.
C

ขอบคุณสำหรับการติดตาม กำลังใจ และมิตรภาพดีๆ นะคะ

อยากให้คนไทยมาเล่น Steemit ด้วยกัน ที่นี่เป็นที่ๆให้พวกเราได้ปล่อยพลัง​ความสามารถ
แล้วได้ผลตอบแทนดีๆ
แม้เราจะเป็นแค่สามัญชนคนธรรมดาๆ

ถ้าอยากรู้ว่า Steemit นี่มันคืออะไรกัน ดูที่นี่ได้เลยค่ะ
https://steemit.com/promo-steem/@cicy/steemian-vs-non-steemians
https://steemit.com/promo-steem/@cicy/5snwyc

ถ้าเริ่มสนใจก็คลิกลิงค์ด้านล่างนีเพื่อดูวิธีสมัครผ่านเว็บไซต์ของคุณ @tookta ค่ะ
https://steemit.com/thai/@tookta/pt-1
https://steemit.com/thai/@tookta/pt-2

ใครถนัดเล่นในมือถือก็มี application ชื่อ eSteem รายละเอียดตามที่
น้องออมสิน @kanokwan แนะนำไว้นะคะ
https://steemit.com/thai/@kanokwan/how-to-sign-up-steemit-videothai-20171014t211514540z

สมัครมาแล้วสิ่งแรกที่ต้องทำคือ รักษาพาสเวิร์ดยิ่งชีพนะคะ
เพราะว่าไม่เหมือนเว็บอื่นที่ลืมพาสเวิร์ดแล้วเค้าจะส่งมาให้ตามอีเมลที่ให้ไว้นะยังไงดูคำแนะนำของคุณ @suerisue ที่นี่เลยค่ะ
https://steemit.com/thai/@suerisue/a-start-at-steemit-for-thais-in-thai-step-by-step-part-2

Sort:  

พี่ชีเขียนได้ชัดเจนดีมากๆเลยค่ะ ขอนำแนวคิดและวิธีการเขียนจากพี่ซีไปฝึกฝนการเขียนของblog เจี๊ยบบางนะคะ

@naphapat168 ยินดีที่ได้แบ่งปันกันค่ะ

ปูเป็นคนข้อ1 คะ ไม่รู้จะเขียนอะไร เขียนในสิ่งที่ชอบไว้ก่อนเลยคะ 😊

@noopu ชอบอ่านนะคะ เพราะเห็นคุณปูชอบเขียนเกี่ยวกับอาหารการกิน ของน่ารักๆ ที่เที่ยวสวยๆในญี่ปุ่น ดูยังไงก็ไม่เบื่อค่ะ :)

ขอบคุณคะ😊
จริงๆแล้ว เขียนไม่เก่งเลยคะ จะพยายามเขียนให้ดีที่สุดคะ

ขอบคุณค่ะพี่ซี สำหรับโพสต์ดีๆ ในค่ำคืนนี้ค่ะ ดาจะพยายามฝึกเขียนให้ดีๆ มีประโยชน์ต่อผู้อ่าน และข้ออื่นๆ ตามพี่ซีแนะนำค่ะเพราะดาเป็นอีกคนที่เขียนไม่ค่อยเก่ง ไม่รู้จะเขีบนอะไร ไม่รู้ตั้งเรื่องหัวข้อยังไง คิดแล้วปวดหัวค่ะ 555 (พี่ซีรับเด็กทำความสะอาดบ้านสักคนไหมค่ะ ขอไปเรียนด้วยค่ะ) 😂 ขอเข้ามาอ่านของพี่ซีเยอะๆ นะค่ะ

@rusada168 ขอบคุณมากค่ะคุณดา...บ้านพี่ขาดคนหุงข้าวพอดีค่ะ 555 ล้อเล่นค่ะ อย่างที่บอกค่ะลองตั้งหัวข้อขึ้นมาก่อนดูบ้าง แทนที่จะเขียนบล็อกจนเสร็จแล้วค่อยมาเขียนหัวข้อ สำหรับพี่การมีหัวข้อ คือแกนกลาง หรือคอนเซปต์ที่เอาไว้ยึดในการเล่าเรื่องค่ะ พอมีหัวข้อแล้ว ทุกอย่างจะค่อยๆ มาเองค่ะ :)

ขอบคุณค่ะ พี่ซี ดาจะพยายามทำตามคำแนะนำพี่ซีค่ะ ตั้งชื่อเรื่องก่อนการเขียน ซึ่งเป็นเรื่องใหม่สำหรับดาเลยทีเดียวค่ะ เพราะส่วนใหญ่แล้วจะเขียนเรื่องก่อนตั้งชื่อเรื่อง :)

ขอบคุณมากครับสำหรับเคล็ดลับวิชา จะนำไปปรับใช้แน่นอนครับโดยเฉพาะการตั้งหัวเรื่อง และภาพหน้าปก ^_^

คุณ @gootum7 ยินดีเป็นที่สุดค่ะ ลองเอาไปใช้ดูนะคะ :)

ขอบคุณคุณซีนะคะ ที่นำเคล็ดลับมาแบ่งปันกัน จะได้เอามาปรับปรุงงานเขียนของตัวเองบ้าง ยังเขียนไม่เก่ง เลยเน้นที่ตัวเองชอบและได้ทำมาอันดับแรกเลย ถ้าจะให้ไปเขียนเรื่องที่เป็นความรู้เฉพาะทางก็คงไม่ถนัด รออ่านของคนอื่นๆ เอาดีกว่าค่ะ😅

@patinya103 เขียนสิ่งที่ตัวเองชอบก็ดีแล้วค่ะ จะทำให้เรามีกำลังใจ และพลังในการเขียนได้เรื่อยๆ ค่ะ

ผมรักโพสต์นี้มากๆ เลยครับ ^^

@nikornkulatnam ขอบคุณคุณก๊งมากค่ะ ที่มาเชียร์คร้า

กำลังมืดแปดด้านอยู่พอดีเลย ว่าจะเขียนอะไรดี ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆนะครับ

@jnkaeo ยินดีค่ะ ดีใจที่ได้จุดประกายให้การเขียนครั้งต่อไปของคุณนะคะ

เหมือนกันเลยค่ะพี่ซี เจี๊ยบคนหนึ่งที่เขียนไม่ค่อยเก่ง แต่ก็จะฝึกและพยายามทำโพสต์ให้ออกมาดีที่สุด ขอบคุณที่แชร์ทำรู้ดีๆนะคะ เจี๊ยบจะปรับเอามาใช้เป็นตัวอย่างค่ะ (:

@jeabsywanvisa ลองเอาไปปรับใช้ดูนะคะ :)

พี่ซีอธิบายได้ยอดเยี่ยมมากค่ะ เล็กคนหนึ่งที่เขียนไม่ค่อยเก่ง จับต้นชนปลายไม่ถูก จะอธิบายให้ใครฟังเขาก็ไม่เข้าใจ เดี๋ยวจะเอาวิธีพี่ซีมาลองปรับปรุงดูค่ะ ต้องฝึกเขียนเยอะๆ อ่านเยอะๆ แล้วทีนี้ พี่ซีเขียนได้ยอดเยี่ยมมากแล้วค่ะ Good night.

ขอบคุณมากค่ะคุณเล็กที่ให้กำลังใจ :) ฝึกเขียนไปเรื่อยๆ นะคะ เดี๋ยวก็เชี่ยวชาญเองค่ะ คุณเล็กอาจลองลิสต์สิ่งที่จะเล่าออกมาเป็นหัวข้อก่อนก็ได้ค่ะ เสร็จแล้วค่อยเขียนแต่ละหัวข้อให้เชื่อมโยงกันเป็นย่อหน้าๆ เราจะได้ไม่หลงประเด็นไปไหนค่ะ

good night ค่ะ :)

Nice post! very useful and informative for all Thai Steemians.

Thanks for visiting​ my post :) @kaminchan